ธาตุและสารประกอบ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวมีองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว มีสมบัติเฉพาะตัวและจุดเดือดจุดหลอมเหลว คงที่ เช่น O2 , S8 , CI2 , N2 , O3 , Fe , Zn , Cu , He , Ne , Ar , Au , Ag , Pt | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางแสดงสมบัติบางประการของธาตุ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตารางเปรียบเทียบสมบัติโดยทั่วไปของโลหะ - อโลหะ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ธาตุใดที่มีสมบัติส่วนใหญ่เป็นโลหะ จัดธาตุนั้นไว้เป็นธาตุโลหะ และธาตุใดมีสมบัติส่วนใหญ่เป็นอโลหะ จัดให้เป็นธาตุอโลหะ สำหรับธาตุที่ไม่สามารถจัดเป็นธาตุโลหะ หรือธาตุอโลหะได้ให้จัดธาตุนั้นไว้เป็นธาตุกึ่งโลหะ – กึ่งอโลหะ เช่น โบรอน ซิลิคอนและพลวง ชนิดของธาตุ สามารถแบ่งธาตุออกได้ 3 ชนิด ได้แก่ โลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ จากการศึกษาพบว่าโลหะและอโลหะมีสมบัติต่างกัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โลหะ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. ส่วนมากอยู่ในสถานะของแข็งยกเว้น ปรอท เป็นของเหลว ณ อุณหภูมิปกติ 2. ขัดเป็นมันวาว 3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง 4. นำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นโลหะจะนำไฟฟ้าได้น้อยลง 5. ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นสูง 6. เหนียวดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นได้ 7. เคาะเสียงดังกังวาน 8. มีความโน้มเอียงที่จะเสียอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับอโลหะ 9. ส่วนใหญ่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรดได้ก๊าซไฮโดรเจน 10. เมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นเบส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อโลหะ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1. มีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ณ อุณหภูมิปกติ 2. ขัดไม่เป็นมันวาว 3. ส่วนมากมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ 4. เป็นฉนวนไฟฟ้า ยกเว้นแกรไฟต์ 5. มีความหนาแน่นต่ำ 6. เปราะดึงเป็นเส้นหรือตีแผ่เป็นแผ่นไม่ได้ 7. เคาะไม่มีเสียงดังกังวาน 8. มีความโน้มเอียงที่จะรับอิเล็กตรอนเมื่อรวมตัวกับโลหะ 9. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายกรด 10. เมื่อรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนจะได้สรประกอบออกไซด์ที่ละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นกรด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สำหรับธาตุที่เป็นกึ่งโลหะ จะมีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลหะ เช่น นำไฟฟ้าได้เล็กน้อยที่ภาวะปกติเมื่อทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนได้สารประกอบออกไซด์ที่มีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เป็นต้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลักการเขียนสัญลักษณ์ของธาตุ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาอังกฤษ Aluminium ชื่อภาษาไทย อะลูมิเนียม สัญลักษณ์ Al | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สารประกอบ ( Compound )
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สารประกอบ ( Compound ) หมายถึง สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป รวมตัวกันทางเคมีในอัตราส่วนโดยมวลคงที่ มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวคงที่และมีสมบัติต่างจากธาตุองค์ประกอบเดิมและไม่สามารถแยกกลับเป็นสารเดิมได้โดยง่าย เช่น CO2,H2 O , KMnO4 , Cu (NH 3)4 SO4 , NaCI เป็นต้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สารประกอบบางชนิดที่ควรทราบ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ธาตุ และ สารประกอบ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น